วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1782 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1239 - มีนาคม ค.ศ. 1240
มหาศักราช 1161 ค.ศ. 1239 วันเกิด

วันเสาร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ดร. สลัมป์
ดร.เซมเบ้ หรือ โนริมากิ เซมเบ้ ตัวละครการ์ตูนในเรื่อง ดร. สลัม กับหนูน้อยอาราเล่ อาศัยที่หมู่บ้านเพนกวิน มีอาชีพนักประดิษฐ์ที่ประดิษฐ์อะไรลมๆแล้งๆไปวัน ๆ จนได้สร้างหุ่นยนต์เด็กหญิงชื่อ อาราเล่ (โนริมากิ อาราเล่) ขึ้น และภายหลังได้พบกับเด็กผู้ชายบินได้ เมื่อครั้งย้อนอดีตไปในยุคดึกดำบรรพ์ เป็นของขวัญจากไดโนเสาร์ และได้ตั้งชื่อว่า กัตจัง (โนริมากิ กัตซิล่า) นิสัยของเซมเบ้ไม่มีอะไรมาก แค่ลามกและไร้สาระไปวันๆเท่าน ผู้หญิงที่แอบชอบและใฝ่ฝันแต่งงานด้วยคือ ครูมิโดริ อาจารย์ที่สอนอาราเล่ทีโรงเรียนนั่นเอง
ชื่อ เซมเบ้ และ อาราเล่ มาจากชื่อขนม เซ็มเบะ และ อะระเระ

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สกว.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (The Thailand Research Fund, TRF) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2535 ในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ อานันท์ ปันยารชุน มีเป้าหมายหลัก คือ สร้าง และส่งเสริม นักวิจัย กลุ่มวิจัย และชุมชนวิจัย ที่มีความสามารถ, ให้สร้างปัญญา และผลิตผลงานที่มีคุณภาพ, เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน, ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี


พระราชพิธีพัชราภิเษก หรือ พัชราภิเษกสมโภช เป็นการเฉลิมฉลองที่จัดขึ้นเพื่อแสดงการครบรอบ 60 ปีสำหรับประเทศอังกฤษและเครือจักรภพ และการครบรอบ 75 ปีสำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา

ค.ศ. 560เขตนครเชียงใหม่และปริมณฑล พระราชพิธีพัชราภิเษกสำหรับสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย
ดูเพิ่มเติมที่ งานฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี พุทธศักราช ๒๕๔๙
ในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2549 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และทรงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดงานตามที่รัฐบาลขอพระราชทาน มีชื่องานว่า " พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี " ไม่ใช่ " พัชราภิเษก " ดังที่บางคนเรียก เพราะยังไม่ครบ 75 ปี และไม่เรียกว่า " ครบรอบ 60 ปี " เพราะธรรมเนียมไทยไม่ถือว่า 60 ปี เป็นรอบ ด้วยไทยถือรอบนักษัตร รอบละ 12 ปี การฉลองครบ 6 ปี จึงเป็นการอนุโลมตามธรรมเนียมสากลโดยถือว่าเป็นวาระที่มีมาถึงก่อนครบ 75 ปี ซึ่งยังอยู่อีกไกล แต่อันที่จริง หากอนุโลมแบบไทยว่าครบห้ารอบนักษัตรก็จะได้เวลา 60 ปี เช่นกัน เพียงแต่ถ้าใช้คำว่า " ครบรอบ " ก็ควรระบุว่า " ครบห้ารอบ " ไม่ใช่ครบรอบ 60 ปี
สำหรับพระราชพิธีพัชราภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นการฉลองการครองสิริราชสมบัติครบ 75 ปี จะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2564

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 1174 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 631 - มีนาคม ค.ศ. 632
มหาศักราช 553 ค.ศ. 631 วันเกิด

วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2550

พ.ศ. 2065พ.ศ. 2065
พุทธศักราช 2065 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 1522 - มีนาคม ค.ศ. 1523
มหาศักราช 1444 วันเกิด

วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2550

พรรคการเมือง
พรรคการเมือง คือ องค์กรทางการเมืองที่รวมบุคคลที่มีอุดมการณ์เดียวกัน และมีเป้าหมายเพื่อได้อำนาจทางการเมืองในรัฐบาล นโยบายต่าง ๆ ของพรรคการเมืองส่วนมากจะเป็นผลรวมของความต้องการภายในพรรค ซึ่งเมื่อพิจารณาสมาชิกพรรคแต่ละคนแล้ว อาจจะมีความแตกต่างกันอย่างมากก็ได้
ในระบอบรัฐสภา พรรคการเมืองส่วนใหญ่จะมีผู้นำ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วถ้าพรรคการเมืองนั้นได้รับเสียงข้างมาก จะรับหน้าที่เป็นผู้นำรัฐบาล ขณะที่ในระบอบประธานาธิปดี พรรคการเมืองอาจไม่มีผู้นำที่ชัดเจน โดยเฉพาะในระบบการเมืองที่มีการแยกอำนาจโดยสมบูรณ์

วันเสาร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2550

หมู่เกาะต้นปาล์ม
หมู่เกาะต้นปาล์ม เป็นโครงการก่อสร้างเกาะจำลองบริเวณอ่าวเปอร์เซีย ใน ดูไบ ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยแต่ละเกาะจะมีลักษณะรูปร่างเหมือนต้นปาล์ม และล้อมรอบด้วยเสี้ยววงกลม โดยพื้นที่จะมีการจัดเป็นที่อยู่อาศัย และรีสอร์ท การพัฒนานี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวของประเทศ
ในโครงการจะมีการสร้างทั้งหมด 3 เกาะได้แก่ ปาล์ม Jumeirah, ปาล์ม Deira และ ปาล์ม Jebel Ali

วันศุกร์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2550


ปัญญานันทภิกขุ พระพรหมังคลาจารย์ หรือที่รู้จักกันดีทั่วไปคือ หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ถือกำเนิดที่ตำบลคูหาสวรรค์ อ.เมืองพัทลุง จ.พัทลุง เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 เดิมมีนามว่า ปั่น เสน่ห์เจริญ หลังใช้ชีวิตฆราวาสจนมีอายุได้ 18 ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดอุปนันทนาราม จ.ระนอง โดยมีพระระณังคมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดนางลาด อ.เมือง จ.พัทลุง โดยมีพระจรูญกรณีย์เป็นอุปัชฌาย์เมื่อปี พ.ศ. 2474

ศึกษาหาหลักธรรม

พ.ศ. 2475 หลวงพ่อมีโอกาสร่วมเดินทางไปประเทศพม่า กับพระโลกนาถชาวอิตาลีสหายธรรม ร่วมเดินทางแสวงบุญไปประเทศอินเดียและทั่วโลกโดยผ่านทางประเทศพม่าด้วยเท้าเปล่าเพื่อเป็นพุทธบูชา แต่เมื่อเดินทางถึงประเทศพม่าก็ต้องเดินทางกลับ
ระหว่างปี พ.ศ. 2475-2476 หลวงพ่อได้มีโอกาสเดินทางไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศหลายประเทศ จนหลวงพ่อได้ชื่อว่า เป็นพระสงฆ์รูปแรกของไทยที่ได้เดินทางไปประกาศธรรมในภาคพื้นยุโรป เผยแพร่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ
พ.ศ. 2477 หลวงพ่อได้เดินทางไปจำพรรษากับพระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ) ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และร่วมเป็นสหายธรรมดำเนินการเผยแพร่หลักธรรมที่แท้จริงตามหลักคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

สหายธรรมของท่านพุทธทาสภิกขุ

ในปี พ.ศ. 2492 หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ได้รับอาราธนานิมนต์ให้ไปจำพรรษาที่วัดอุโมงค์ จ.เชียงใหม่ และได้เริ่มแสดงธรรมในทุกวันอาทิตย์และวันพระที่พุทธนิคม จ.เชียงใหม่ พร้อมกันนี้หลวงพ่อได้เขียนบทความต่างๆ ลงในหนังสือพิมพ์และเขียนหนังสือธรรมะขึ้นจำนวนหลายเล่ม นอกจากนี้ หลวงพ่อได้เดินทางไปประกาศธรรมแก่ชาวบ้าน ชาวเขาโดยใช้รถติดเครื่องขยายเสียง จนชื่อเสียงของหลวงพ่อดังกระฉ่อนไปทั่ว จ.เชียงใหม่ ในนาม "ภิกขุปัญญานันทะ"
ในยุคนี้เองที่หลวงพ่อได้ก่อตั้งมูลนิธิ "เมตตาศึกษา" ที่วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ และบำเพ็ญศีล กิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมอีกมากมาย ประกาศธรรมแก่ชาวบ้านที่เชียงใหม่

ในปี พ.ศ. 2502 ม.ล.ชูชาติ กำภู อธิบดีกรมชลประทาน ในสมัยนั้น ระหว่างที่ไปเยือนเชียงใหม่มีความประทับใจ ในลีลาการสอนธรรมะแนวใหม่ของหลวงพ่อ จึงเกิดความศรัทธาปสาทะในหลวงพ่อ และในขณะนั้นกรมชลประทานได้สร้างวัดใหม่ขึ้น ชื่อ "วัดชลประทานรังสฤษฎ์" ที่ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี จึงได้อาราธนาหลวงพ่อไปเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ พ.ศ. 2503 จนถึงปัจจุบัน
พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระธรรมโกศาจารย์ (ปัญญานันทภิกขุ) ได้ดำเนินการเผยแพร่พระพุทธศาสนา โดยวิธีที่ท่านได้เริ่มปฏิวัติรูปแบบการเทศนาแบบดั้งเดิมที่นั่งเทศนาบนธรรมาสน์ถือใบลาน มาเป็นการยืนพูดปาฐกถาธรรมแบบพูดปากเปล่าต่อสาธารณชน พร้อมทั้งยกตัวอย่างเหตุผลร่วมสมัย ทันต่อเหตุการณ์ เป็นการดึงดูดประชาชนให้หันเข้าหาธรรมะได้เป็นเป็นอย่างมาก ซึ่งในช่วงแรกๆ ได้รับการต่อต้านอยู่บ้าง แต่ต่อมาภายหลังการปาฐกถาธรรมแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปจนถึงบัดนี้ เมื่อพุทธศาสนิกชนทราบข่าวว่า หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุจะไปปาฐกถาธรรมที่ใดก็จะติดตามไปฟังกันเป็นจำนวนมาก จนในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาให้เป็นองค์แสดงปาฐกถาธรรมในสถานที่ต่างๆ และเทศนาออกอากาศทั้งทางสถานีวิทยุกระจายเสียง และสถานีวิทยุโทรทัศน์ต่างๆ จนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ หลวงพ่อยังได้รับอาราธนาไปแสดงธรรมในต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น และยังได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมและกล่าวคำปราศรัยในการประชุมองค์กรศาสนาของโลกเป็นประจำอีกด้วย
โดยที่หลวงพ่อท่านเป็นพระมหาเถระผู้มีชื่อเสียงของประเทศไทย ได้สร้างงานไว้มากมายทั้งด้านศาสนาสังคมสงเคราะห์ตลอดจนงานด้านวิชาการ ดังนั้นหลวงพ่อจึงได้รับการเสนอชื่อให้เป็นผู้ได้รับรางวัลเกียรติคุณมากมาย และเป็นประธานในการดำเนินกิจกรรมทั้งที่เป็นประโยชน์แก่พระพุทธศาสนาและสังคม เช่น สนับสนุนโครงการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างแดน เป็นประธานจัดหาทุนสร้างตึกโรงพยาบาล กรมชลประทาน 80 ปี (ปัญญานันทะ) และเป็นประธานในการดำเนินการจัดหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม ซึ่งกำลังดำเนินการอยู่ แม้ว่าคำสอนของหลวงพ่อจะเป็นคำสอนที่ฟังง่ายต่อการเข้าใจ แต่ลึกซึ้งด้วยหลักธรรมและอุดมการณ์อันหนักแน่นในพระรัตนตรัย หลวงพ่อปัญญานันทภิภขุ เป็นหนึ่งในบรรดาภิกษุผู้มีชื่อเสียง และเปี่ยมด้วยคุณธรรมเมตตาธรรม ผู้นำคำสอนในพระพุทธศาสนา ซึ่งเหมาะสมสำหรับชนทุกชั้นที่จะเข้าถึง หลวงพ่อเป็นพระสงฆ์รูปแรกที่กล้าในการปฏิรูปพิธีกรรมทางศาสนา ของชาวไทยที่ประกอบพิธีกรรมหรูหรา ฟุ่มเฟือย โดยเปลี่ยนเป็นประหยัด มีประโยชน์และเรียบง่าย ดังนั้น หลวงพ่อจึงได้รับการขนานนามว่า "ผู้ปฏิรูปพิธีกรรมของชาวพุทธไทย" ในปัจจุบัน ปัญญานันทภิกขุ วัดชลประทานรังสฤษฎ์

ผลงานและเกียรติคุณ

พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าอาวาสวัดชลประทานรังสฤษฏ์
พ.ศ. 2506 ได้รับพระบัญชา แต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์

  • เป็นหัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 9
    เป็นรองเจ้าคณะภาค 18
    พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าอาวาสวัดพุทธธรรม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา งานด้านการปกครอง

    พ.ศ. 2503 เป็นเจ้าสำนักศาสนาศึกษา แผนกธรรมและบาลีวัดชลประทานรังสฤษฏ์
    พ.ศ. 2512 เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพุทธศาสนาวัดอาทิตย์ ระดับอนุบาล ประถม มัธยมศึกษา
    พ.ศ. 2524 เป็นผู้อำนวยการจัดการการอบรมพระธรรมทายาทของวัดชลประทานรังสฤษฏ์

    • เป็นผู้อำนวยการจัดการอบรมพระนวกะที่บวชในวัดชลประทานรังสฤษฏ์ งานด้านการเผยแผ่

      พ.ศ. 2497 เดินทางเผยแผ่ธรรมรอบโลก
      ช่วยเหลือกิจการพุทธศาสนา เผยแผ่ธรรมะในต่างประเทศ คือ ประเทศอังกฤษ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เยอรมัน
      เป็นเจ้าอาวาสววัดพุทธธรรม วัดไทยในชิกาโก สหรัฐอเมริกา การปฏิบัติศาสนากิจในต่างประเทศ

      พ.ศ. 2516 เป็นประธานในการก่อสร้างกุฏิสี่เหลี่ยม เพื่อเป็นที่อยู่แก่พระภิกษุผู้บวชใหม่
      พ.ศ. 2518 เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธธรรม
      เป็นประธานในการก่อสร้างโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
      พ.ศ. 2537 เป็นประธานก่อสร้างกุฏิสองหลังเป็นกุฏิทรงไทยประยุกต์ งานด้านสาธารณูปการ

      พ.ศ. 2533 เป็นประธานหาทุนสร้าง "ตึก 80 ปี ปัญญานันทะ" ให้โรงพยาบาลชลประทานรังสฤษฏ์ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี
      สร้างศูนย์ฝึกและปฏิบัติงาน มูลนิธิแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง ที่ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
      พ.ศ. 2534 บริจาคเงินสร้างอุโบสถวัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จ.เชียงใหม่
      พ.ศ. 2537 บริจาคเงินสร้างโรงอาหารแก่โรงเรียนประภัสสรรังสิต อ.เมือง จ.พัทลุง
      บริจาคเงินซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ให้โรงพยาบาลวชิระ จ.ภูเก็ต
      เป็นประธานหาทุนสร้างวัดปัญญานันทาราม จ.ปทุมธานี
      บริจาคเงินเป็นทุนอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในโรงเรียนท้องถิ่นที่ขาดแคลนต่างๆ หลายจังหวัด งานด้านสาธารณประโยชน์

      พ.ศ. 2503 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาลย์ ณ ตำหนักจิตรลดารโหฐาน
      พ.ศ. 2518 เป็นองค์แสดงธรรมถวายสมเด็จพรเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ ณ ศาลาการเปรียญ วัดชลประทานรังสฤษฏ์
      เป็นองค์แสดงธรรมถวาย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และ พระบรมวงศานุวงศ์ เนื่องในพระราชพิธีพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์รามาธิบดีอันมีศักดิ์ ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท
      เป็นพระอุปัชฌาย์อุปสมบทแก่ช่าวต่างประเทศ ที่อุปสมบทในประเทศไทย เช่น ชาวอเมริกัน อังกฤษ ออสเตรเลีย เยอรมัน ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น
      พ.ศ. 2529 ได้รับนิมนต์เข้าร่วมประชุมพุทธศาสนิกสัมพันธ์อาเชี่ยนเพื่อสันติภาพ ครั้งที่ 7 ที่ประเทศประชาธิปไตยประชาชนลาว (12th Asain Buddist Conference for Peace)
      พ.ศ. 2536 ได้รับนิมนต์ไปร่วมประชุมและบรรยาย ในการประชุมสภาศาสนาโลก 1993 ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา (The 1993 Parliament of the world's Religion) งานพิเศษ
      ได้เขียนหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาไว้มากมาย เช่น

      ทางสายกลาง
      คำถามคำตอบพุทธศาสนา
      คำสอนในพุทธศาสนา
      หน้าที่ของคนฉบับสมบูรณ์
      รักลูกให้ถูกทาง
      ทางดับทุกข์
      อยู่กันด้วยความรัก
      อุดมการณ์ของท่านปัญญา
      ปัญญาสาส์น
      ชีวิตและผลงาน
      มรณานุสติ
      ทางธรรมสมบูรณ์แบบ
      72 ปี ปัญญานันทะ เป็นต้น เกียรติคุณที่ได้รับ

      วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2499 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ "พระปัญญานันทมุนี"
      วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2514 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นราช ที่ "พระราชนันทมุนี"
      วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ "พระเทพวิสุทธิเมธี"
      วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2537 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ "พระธรรมโกศาจารย์ สุนทรญาณดิลก สาธกธรรมภาณ วิสาลธรรมวิภูษิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี"
      วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ พระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏหรือรองสมเด็จพระราชาคณะ ที่ "พระพรหมมังคลาจารย์ ไพศาลธรรมโกศล วิมลศีลาจารวินิฐ พิพิธธรรมนิเทศ พิเศษวรกิจจานุกิจ มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวา่สี"

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ชีวเคมี
ชีวเคมี (อังกฤษ: Biochemistry) เป็นวิชาที่ศึกษาสารเคมีที่มีในสิ่งมีชีวิต หรือที่เรียกว่า ชีวโมเลกุล (Biomolecules) และกระบวนการเคมีในสิ่งมีชีวิต ตลอดจนการควบคุมในระดับต่าง ๆ อย่างเช่นที่เกี่ยวกับการแปรรูปสารอาหารไปเป็นพลังงาน, การสร้างและเปลี่ยนแปลงสารชีวโมเลกุลภายในเซลล์ที่เรียกว่า กระบวนการ เมตาโบลิซึม การทำงานของเอนไซม์และโคเอนไซม์, ระบบของพลังงานในสิ่งมีชีวิต, การสลายและการสังเคราะห์สารชีวโมเลกุลต่าง ๆ
ชื่อนี้มาจากภาษาเยอรมันว่า บิโอเคมี (Biochemie) ซึ่งแรกตั้งโดย ฮอปเปอ-ซีเลอร์ (Hoppe-Sieler) ในปี พ.ศ. 2420 (ค.ศ. 1877) โดยเขาให้คำจำกัดความไว้เป็นอย่างดีว่า เป็นเนื้อหาวิชาซึ่งครอบคลุมการเข้าศึกษาชีววิทยาในเชิงโมเลกุลทุก ๆ ด้าน

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550


มาช่วยกันเพิ่มเติมและแก้ไขกันเถอะ เพื่อให้บทความนี้น่าอ่านยิ่งขึ้นรัตนปุระน่าน รายละเอียดเพิ่มเติมดูได้ที่ เริ่มต้นเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย หรือ ภาษาอื่นด้านซ้ายมือ ให้นำกล่องนี้ออกเมื่อมีข้อความเพิ่มเติม



ชากาซูลู
ชากาซูลู (บางครั้งสะกดว่าชาก้า เกิดเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2324 ตายเมื่อประมาณ22 สิงหาคม พ.ศ. 2371) เป็นหัวหน้าของชนเผ่า ซูลู ซึ่งในปัจจุบันคือ แอฟริกาใต้ เขาเป็นคนสร้างให้ซูลูเป็นชาติที่ยิ่งใหญ่เกรียงไกร เป็นที่เกรงกลัวของชาติตะวันตกมาก มีชื่อเสียงทางด้านการเดินทางไกลด้วยการวิ่งเร็ว 50 ไมล์ และเข้าโจมตีด้วยรูปขบวนที่น่ากลัว

วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550


พุทธศักราช 944 ใกล้เคียงกับ

เมษายน ค.ศ. 401 - มีนาคม ค.ศ. 402
มหาศักราช 323 พ.ศ. 944 วันเกิด

วันอาทิตย์ที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ประพันธ์ คูณมี
ประพันธ์ คูณมี เกิดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2497 มีชื่อเล่นที่เรียกกันในหมู่เพื่อน ๆ ว่า " ผอม " เมื่อเหตุการณ์ 14 ตุลา ประพันธ์เป็นหนึ่งในนักศึกษาที่เข้าร่วมในเหตุการณ์ โดยทำงานร่วมกับสหพันธ์นักศึกษาเสรี และหลังเหตุการณ์ 6 ตุลา ประพันธ์ได้หลบหนีเข้าไปอยู่ในป่าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย โดยมีฉายาว่า " สหายสงคราม " แต่มีเขตงานเป็นของตนเองโดยไม่เกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์ ฯ ในนาม " เขตงาน 196 ภูเขียว, ชัยภูมิ "
เมื่อออกจากป่า ประพันธ์ได้กลับมาเรียนหนังสือจนจบ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ด้วยคะแนนในเกณฑ์ดี และปริญญาโทสาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และจบเนติบัณฑิตไทยรุ่นที่ 37 โดยเป็นลูกศิษย์ของพิศิษฏ์ เทศะบำรุง อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา ซึ่งสนิทสนมกับ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ จึงร่วมกันก่อตั้งสำนักทนายความขึ้นในชื่อ " สำนักงานพิศิษฏ์ ประพันธ์ และเพื่อน " และเมื่อ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ เข้าร่วมก่อตั้งพรรคความหวังใหม่ร่วมกับ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ในปี พ.ศ. 2533 ประพันธ์จึงเข้าร่วมด้วยกับพรรคความหวังใหม่ ก่อนที่จะแยกย้ายออกมาในเวลาต่อมา เมื่อความเห็นไม่ตรงกัน
ชื่อของประพันธ์ คูณมี รู้จักกันในวงกว้างขึ้น เมื่อได้มีบทบาทร่วมกับกลุ่มประชาชนเพื่อชาติและราชบัลลังก์ ขับไล่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2547 เพราะความสนิทสนมกับ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ จึงได้รับฉายาจาก พ.ต.ท.ทักษิณว่า " ทนายปีศาจ " แต่ไม่ประสบความสำเร็จ
และในการเลือกตั้งทั่วไปทั้งประเทศ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ประพันธ์ คูณมี ได้ลงรับสมัครเลือกตั้งในเขต 3 กรุงเทพมหานคร เขตบางซื่อ สังกัดพรรคประชาธิปัตย์ แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง
ในเหตุการณ์การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี พ.ศ. 2549 ประพันธ์ คูณมี ได้เข้าร่วมด้วยโดยมีบทบาทเป็นโฆษกบนเวที และหลังเหตุการณ์ครั้งนี้ ก็ได้รับแต่งตั้งจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติให้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ด้วย
ชีวิตส่วนตัว สมรสแล้วกับ ผศ.ดร. กัลยาณี คูณมี อาจารย์ประจำคณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) มีบุตรชาย 1 คน
วิตามินเอช
วิตามินเอช หรือ Biotin มีความสำคัญในด้านการรักษาโรคต่างๆ ตั้งแต่โรคเหน็บชาไปจนถึงโรคเกี่ยวกับสมอง

วันเสาร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2550


นิวยอร์กในบทความนี้หมายถึง มลรัฐ สำหรับเมืองดูได้ที่ นครนิวยอร์ก
มลรัฐนิวยอร์ก (New York อ่านว่า นูยอร์ก) เป็นมลรัฐที่อยู่ทางตอนตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐอเมริกา เป็นรัฐที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 3 ของประเทศ รองมาจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และรัฐเทกซัส รัฐนิวยอร์กอาณาเขตติดต่อกับ รัฐเวอร์มอนต์ รัฐคอนเนตทิคัต รัฐแมสซาชูเซตส์ รัฐนิวเจอร์ซีย์ รัฐโรดไอแลนด์ และ รัฐเพนซิลเวเนีย และในทิศเหนือติดต่อกับประเทศแคนาดา กับรัฐควิเบกและรัฐออนแทรีโอ เมืองขนาดใหญ่ในรัฐนิวยอร์กได้แก่ นครนิวยอร์ก (ซึ่งเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ) บัฟฟาโล รอเชสเตอร์ ยังเกอรส์ และ ไซราคิวส์ ในขณะที่เมืองหลวงของรัฐคือ ออลบานี
สถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้แก่ น้ำตกไนแอการา และในเขตนครนิวยอร์ก

มลรัฐนิวยอร์ก เศรษฐกิจ
มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในรัฐได้แก่ มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย มหาวิทยาลัยไซราคิวส์

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2550

คณิตศาสตร์ประยุกต์
คณิตศาสตร์ประยุกต์ (applied mathematics) แตกต่างจากคณิตศาสตร์บริสุทธิ์ (pure mathematics) ตรงที่ จะเริ่มต้นพิจารณาปัญหาในชีวิตจริงก่อน ไม่ว่าปัญหานั้นจะอยู่ในเรื่องของวิชา หรือ สาขาใดๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา ธรณีวิทยา แพทยศาสตร์ ทันตแพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ คอมพิวเตอร์ฯลฯ หรือแม้แต่ปัญหาที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคณิตศาสตร์เอง แล้วจากนั้น จะนำความรู้ในวิชาคณิตศาสตร์ที่มีอยู่แล้ว หรืออาจจำเป็นจะต้องสร้างใหม่ขึ้นมา เพื่อจะใช้แก้ปัญหาเหล่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2550

มอซิลลาทันเดอร์เบิร์ด
มอซิลลา ทันเดอร์เบิร์ด (Mozilla Thunderbird) เป็นโปรแกรมสำหรับรับและส่งอีเมล และรับข่าวสารแบบกราฟิกส์ สามารถใช้ได้ในหลายระบบปฏิบัติการ พัฒนาโดยมูลนิธิมอซิลลาและอาสาสมัครอีกหลายร้อยคน ปัจจุบันอยู่ใต้การดำเนินงานของบริษัทมอซิลลา ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการที่ควบคู่ไปกับ มอซิลลา ไฟร์ฟอกซ์ ซึ่งเป็นโครงการที่ตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโปรแกรมค้นดูเว็บ ที่เล็กและเร็วกว่าโปรแกรมทั่วไป และทันเดอร์เบิร์ด ก็มีเป้าหมายเดียวกัน ผู้ใช้ส่วนใหญ่มักใช้ทันเดอร์เบิร์ดร่วมกับไฟร์ฟอกซ์ ในวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 2004 ทันเดอร์เบิร์ดได้เปิดตัวเวอร์ชัน 1.0 โดยมียอดผู้ดาวน์โหลดกว่า 500,000 ครั้งใน 3 วันแรก (และ 1,000,000 ครั้งใน 10 วัน)

ประวัติ
ทันเดอร์เบิร์ด ถูกตั้งเป้าหมายในการพัฒนา ให้เป็นโปรแกรมรับส่งอีเมลที่เรียบง่าย. ซึ่งมันไม่ใช่โปรแกรมจัดการสารสนเทศส่วนบุคคล (Personal information manager). แต่ถ้าต้องการความสามารถพิเศษอื่นๆ ก็ยังเพิ่มประสิทธิภาพของมันได้ โดยการติดตั้งส่วนขยาย.

ความสามารถ
ทันเดอร์เบิร์ดได้ใช้ตัวกัน Bayesian spam ซึ่งมีประสิทธิภาพในการขจัดอีเมลขยะที่ไม่พึ่งประสงค์ได้

วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เยาวภา บุรพลชัยเยาวภา บุรพลชัย ผลงาน
นางสาวเยาวภา ถือได้ว่าเป็นนักกีฬาขวัญใจวัยรุ่น แม้จะได้เหรียญทองแดง แต่ก็นับได้ว่ามีชื่อเสียงโดดเด่นกว่านักกีฬาโอลิมปิกรุ่นเดียวกันคนอื่นๆ ด้วยอยู่ในวัยเดียวกัน และรูปร่างหน้าตาที่น่ารักเหมือนดาราวัยรุ่นคนหนึ่ง ประกอบกับเทควันโด อันเป็นศิลปะป้องกันตัวของเกาหลีใต้ ซึ่งรับกับกระแสเกาหลีที่มาแรงในยุคปัจจุบันนี้

ประวัติการศึกษา
พูดได้ 4 ภาษา ภาษาไทย (ภาษาแม่) ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี

วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ไทม์แมชชีน

ไทม์แมชชีน เป็นยานพาหนะย้อนเวลาสู่อดีต หรืออนาคต ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์หลายเรื่อง รวมทั้งการ์ตูนโดราเอมอน จะมีการใช้เครื่องมือนี้ในการย้อนเวลาหลายครั้ง มีความเชื่อว่า ถ้าเดินทางด้วยความเร็วเท่ากับแสงแล้วเวลาจะหยุดนิ่ง ซึ่งอาจเป็นความคิดในเรื่องนี้ก็ได้
แนวคิดเรื่องยานพาหนะสำหรับเดินทางไปอดีตหรืออนาคตนี้ เริ่มปรากฏเป็นครั้งแรก จากนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ของเอช. จี. เวลล์ เรื่อง "ไทมแมชชีน" (The Time Machine)
ไทม์แมชชีนในปัจจุบันเชื่อว่าไม่สามารถทำขึ้นได้ เนื่องจากตามทฤษฎีสัมพันธภาพ ทฤษฎีสัมพันธภาพพิเศษ และทฤษฎีสัมพันธภาพทั่วไปกล่าวว่าไม่มีสสารหรือพลังงานใดที่จะเคลื่อนที่เร็วกว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (แสง) หากเป็นไปได้ จะทำให้ไปสู่มิติเวลาที่ไม่สามารถเป็นไปได้


วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ตูตง

ความสัมพันธ์ระหว่างไตรภูมิกับสถาปัตยกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นอกจากนี้ ก็ปรากฏคติความเชื่อเรื่องศูนย์กลางแห่งจักรวาลในงานศิลปกรรมอีกมากมายในงานสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น การสร้างเจดีย์ของพม่าส่วนใหญ่ก็จะสร้างในคติการสร้างเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศธาตุและพระเขี้ยวแก้วของพระพุทธเจ้า คือเจดีย์จุฬามณีที่พระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ตัวอย่างเช่น อุบาลีเถียน เมืองพุกาม ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ ๑๘ เป็นอาคารใน�! ��ังสี่เหลี่ยมผืนผ้า ผนังก่อด้วยอิฐ ภายในมีพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่ง ภายนอกอาคารมีเจดีย์ทรงระฆังขนาดเล็กประดับอยู่ที่กลางสันหลังคา ซึ่งอาจมีความหมายถึงเจดีย์จุฬามณีที่ประดิษฐานพระเกศธาตุและพระเขี้ยวแก้ว พระอินทร์สร้างไว้บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างอีกที่ เจดีย์สินพยุเมที่เมืองมินคุนซึ่งพระเจ้าพะคยีดอทรงสร้างใน ! พ.ศ. ๒๓๕๙ ก่อนที่จะเสวยราช ย์ เจดีย์องค์นี้เปรียบเสมือนพระเจดีย์จุฬามณีซึ่งตั้งอยู่เหนือเขาพระสุเมรุอันป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลตามความเชื่อถือเกี่ยวข้องกับไตรภูมิในพุทธศาสนา คือ มีแผนผังเป็นรูปวงกลมประกอบด้วยลานซ้อนขึ้นไป ๗ ชั้น ลานเหล่านี้มีผนังเตี้ยๆทำเป็นรูปคล้ายรูปคลื่นโดยรอบ เหนือลานชั้นบนมีฐานรูปทรงกระบอกซึ่งมีห้องไว้พระพุทธรูปอยู่ภายใน ยอดเป็นรูปเจดีย์ตา! มแบบพม่า
อาจกล่าวได้ว่าชนชาติพม่าเป็นชนชาติที่ดูจะเคร่งครัดกับพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาลที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาจึงสืบต่อลงมาอย่างเหนียวแน่น ดังเห็นจากงานศิลปกรรมในรุ่นหลังๆที่ยังคงรักษาคตินี้ไว้


เขมร คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ปรากฏมากมายในวัฒนธรรมเขมร เมื่อมาสมัยการสร้างเมืองพระนครของพระเจ้ายโศวรมันที่ ๒ ก็ได้มีการนำคติไตรภูมิซึ่งสืบต่อมาจากอินเดียคือ มีภูเขาศักดิสิทธิ์อยู่กลางเมืองเป็นสัญลักษณ์แทนเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา โดยพระเจ้ายโศวรมันทรงเลือกเขาพนมบาแค็งเป็นศูนย์กล�! ��งแห่งเมืองพระนคร และสร้างปราสาทพนมบาแค็งเป็นปราสาท ๕ หลังซึ่งมีหลังหนึ่งอยู่ตรงกลางและอีก ๔ หลังอยู่ ๔ มุมนั้น แสดงถึงยอด ๕ ยอดของเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดา บนยอดเขาพระสุเมรุนั้นเป็นที่ประทับของเทวดา ๓๓ องค์ คือสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ศาสตราจารย์ฟิลลิโอซาต์ได้ตั้งข้อสังเกตุว่าเขาพนทบาแค็งนั้น ถ้าเรามองดูจากเฉพาะฐานแต่ละด้านเราจะเห็�! ��เฉพาะปราสาท ๓๓ หลัง สำหร� �บปราสาทที่เหลือนั้นจะมองไม่เห็น ดังนั้นเขาพนทบาแค็งจึงเป็นเขาพระสุเมรุซึ่งเป็นที่ประทับของเทวดาและศูนย์กลางของมนุษยโลก
ลาว ความเชื่อเรื่องศูนย์กลางจักรวาลของเขาพระสุเมรุอันหมายถึงสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ก็ปรากฏคติความเชื่อนี้ที่ลาวด้วย เช่นในเรื่องของยอดจั่วหัวท้ายของอุโบสถที่เรียกว่า สิม (ที่ภาคกลางก็คือช่อฟ้านั่นเอง) สิมทำเป็นรูปปราสาทและที่สำคัญคือประดับอยู่สันหลังคาโดยมีความหมายถึงปราสาทของพระอินทร์บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ สิมจึงเสมือนเป็นศูนย์กลางจักรวาล�! �ั่นเอง
พม่า คติความเชื่อเรื่องไตรภูมิที่มีเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางแห่งจักรวาล ก็ปรากฏมายมายที่พม่าด้วยเช่นเดียวกัน เห็นได้จากการสร้างเมือง การสร้างปราสาทราชวังที่มีคูน้ำล้อมรอบอันแสดงถึงความเป็นศูนย์กลางจักวาลที่มีมหานทีสีทันดอนล้อมรอบด้วย เช่น พระราชวังมัณฑเลย์ที่สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๐๐-๒๔๐๒ โดยพระเจ้ามินดงเพื่อเป็นศูนย์กลางของจักรวาลต�! �มคติพุทธศาสนา

วันเสาร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เลนส์นูน

เลนส์นูน (convex lens) คือ เลนส์ที่โค้งออกด้านนอก มีขอบแคบ และตรงกลางกว้าง แสงที่ผ่านเลนส์นูนจะรวมเป็นจุดเดียว เรียกจุดนี้ว่า จุดโฟกัส เลนส์นูนสามารถสร้างภาพจริงหรือภาพเสมือนได้
เลนส์นูน สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ
เปรียบเทียบ: เลนส์เว้า

เลนส์นูน 2 ด้าน
เลนส์นูนแกมเว้า
เลนส์นูนแกมระนาบ

สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้เลนส์นูน

แว่นขยาย
แว่นตาสำหรับคนสายตายาว
กล้องโทรทรรศน์ กล้องจุลทรรศน์
กล้องถ่ายภาพ เลนส์ถ่ายภาพ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550



ทอรัส อัลเดบารัน (「牡牛座(タウラス)のアルデバラン」, Taurasu no Arudebaran, 牡牛座(タウラス)のアルデバラン) ตัวละครจากการ์ตูนเรื่องเซนต์เซย่า เป็นโกลด์เซนต์ประจำราศีพฤษภ ผู้ดูแลปราสาทวัวทอง 1 ใน 12 ปราสาทแห่งแซงค์ทัวรี่



บทบาท
เซย่า ชิริว เฮียวงะ และชุน เดินทางมาถึงปราสาทวัวทอง ในขณะนั้นโกลด์เซนต์อันเดบารันได้ยืนขวางอยู่ที่ปราสาท และเมื่อเซย่าโจมตีอัลเดบารันด้วยท่าเปกาซัสหมัดดาวตก นอกจากอัลเดบารันจะไม่เป็นอะไรแล้ว ยังสามารถสะท้อนพลังกลับมาและเล่นงานชิริว เฮียวงะ และชุนจนสลบไป อัลเดบารันต่อสู้กับเซย่าในขณะที่มือยังกอดอกอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าเซย่าจะโจมตีด้วยท่าอะ�! �ร อัลเดบารันก็สามารถรับมือได้ พร้อมทั้งโจมตีกลับด้วยเกรทฮอร์น
ในระหว่างที่เซย่ารู้สึกหมดเรี่ยวแรงและคิดวิธีที่จะตอบโต้อัลเดบารันนั้น เซย่าก็นึกถึงคำสอนของมารีน ซึ่งมีวิธีเดียวที่จะตอบโต้อัลเดบารันได้ นั่นคือ ทำให้หมัดของอัลเดบารันชักออกมา โดยเซย่าได้รวบรวมพลังและปลุกเซเว่นเซนส์ (Seventh sense) ขึ้น แล้วโจมตีอัลเดบารันด้วยท่าหมัดดาวตก ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นบิ๊กแบง (Big band) ได้ ทำให้อัลเดบารันต้องคลายมือที่กอดอกอย�! ��่มารับการโจมตีของเซย่าในครั้งนี้ หลังจากนั้น เซย่าบอกว่าจะหักเขาทองของอัลเดบารัน ซึ่งถ้าเซย่าทำได้อัลเดบารันจะยอมแพ้
หลังจากนั้น อัลเดบารันได้โจมตีเซย่าด้วยท่าเกรทฮอร์นอีกหลายครั้ง และในที่สุดเซย่าก็สามารถสะท้อนพลังเกรทฮอร์นของอัลเดบารันได้ และหักเขาทองได้สำเร็จ ดังนั้น พวกเซย่าจึงสามารถผ่านปราสาทวัวทองได้พร้อมทั้งเตือนพวกเซย่าอย่าดูถูกเหล่าโกลด์เซนต์เป็นอันขาด



ผู้ดูแลปราสาทวัวทอง
หลังจากศึก 12 ปราสาทพวกเซย่าได้รับบาดเจ็บสาหัสพักรักาตัวอยู่ที่สถานพักฟื้นมูลนิธิแกรนด์ อัลเดบารันได้รับหน้าที่ให้ไปเชิญอาธีน่ากลับไปยังแซงค์ทัวรี่ และทำหน้าที่ดูแลพวกเซย่าในขณะกำลังพักฟื้น ในขณะนั้น ไซเรน ซอเรนโต้ 1 ใน 7 มารีนเนอร์แห่งโปเซดอน ได้เดินทางมายังสถานพักฟื้นเพื่อกำจัดเซนต์แห่งอาธีน่า อัลเดบารันได้ต่อสู้กับไซเรน แต่ก็พลาดท่าโดนไ�! �เรนเล่นงานด้วยท่าเดดเอนไคลแมกซ์จนได้รับบาดเจ็บ โดยไซเรนได้เอาหน้ากากของทอรัสคร็อธกลับไปยังวิหารโปเซดอนเพื่อยืนยันว่าโกลด์เซนต์ไม่น่ากลัวอย่างที่คิดไว้ด้วย


ทอรัส
ศึกเทพเจ้าโปเซดอน
ณ ปราสาทวัวทองนั้น อัลเดบารันได้ถูกไอพิษมรณะของดีพ นีโอเบ แห่งกลุ่มดาวจิอัน สเป็กเตอร์ของฮาเดสโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัว จนถึงแก่ความตาย หลังจากมูมาถึงปราสาทวัวทองนั้น ได้กลิ่นที่ติดอยู่บนชุดทอรัสคล็อธของอัลเดบารัน จึงสามารถป้องกันการโจมตีของอีฟได้ และได้กล่าวว่าการต่อสู้กับคนที่ตายไปแล้วนั้นไม่มีประโยชน์ เพราะก่อนที่จะตายนั้นอัลเดบารันได้ส! วนการโจมตีของดีพด้วยท่าเกรทฮอร์น ทำให้ดีฟตายโดยไม่รู้ตัว




สงครามศักดิ์สิทธิ์-เทพเจ้าฮาเดส
อัลเดบารัน มีท่าไม้ตาย คือ เกรทฮอร์น ซึ่งเป็นการโจมตีเหมือนการวิ่งชนของวัวกระทิงทอง โดยการโจมตีในครั้งแรกนั้นจะเบาที่สุด และจะหนักขึ้นเรื่อย ๆ ในการโจมตีครั้งต่อไป



หมายเหตุ


วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550



นายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองและนักพูดที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ที่กรุงเทพมหานคร บ้านหน้าวังบางขุนพรหม ถนนสามเสน บิดาคือ เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) มารดาคือ คุณหญิง บำรุงราชบริพาร (อำพัน -สกุลเดิม จิตรกร) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงก! ุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
หลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เส้นทางการทำงานของสมัครเริ่มจากการเป็นสื่อสายการเมือง โดยเขียนบทความและความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 และเขียนไปถึง พ.ศ. 2516
สมัคร ข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียวมาเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครในระดับต่างๆ ไล่ขึ้นมาจากท้องถิ่น จนมีบทบาทโดดเด่นในช่วงปี 2519 จัดรายการทางสถานีวิทยุยานเกราะ คัดค้านโจมตีบทบาทของขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น ปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษาจนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
และเมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ เขาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่ออายุได้เพียง 41 ปี ควบคู่กับการแยกออกมาก่อตั้งพรรคประชากรไทย มีฐานคะแนนเสียงหลักใน กทม. บางเขตที่มีหน่วยทหารอยู่หนาแน่น
ความคิดและบทบาทของเขามักจะสร้างกระแสมวลชนทั้งหนุนและค้านวิจารณ์ได้กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลา , พฤษภาทมิฬ 35, ไอเดียหนุนกระทงโฟม, ไล่มาจนถึงการกล่าวโจมตีประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ทางทีวีเมื่อต้นปี 2549
แต่แฟนประจำไม่น้อยก็ชื่นชอบลีลาการหาเสียงที่ระดมอัดตัวเลขข้อมูลบรรยายโครงการก่อสร้างต่างๆ จนเห็นภาพสวยงาม สำนวนที่สนุกสนานดุเดือดไม่เคยน่าเบื่อ และลีลาการทำอาหาร "ชิมไปบ่นไป" กับความรักแมวที่มั่นคงตลอด




สารบัญ
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2549 ด้วยคะแนนเสียงเป็นอันดับสองของประเทศ (ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ได้คะแนนเสียงอันดับที่ 1 แต่ ร.ต.อ.นิติภูมิยังไม่ได้การรับรองจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเรื่องการใช้วิธีหาเสียงบนเวทีปราศัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) แต่ภายหลังการเลือกตั้งได้ถูกยกเลิกไป



การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2543 ด้วยคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ไดัรับคะแนนเสียงเป็นอันดับสอง 521,184 คะแนน) นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการก�! ��ุงเทพมหานคร คนที่ 13 และเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสมัคร สุนทรเวช มีผลงานมากมาย เช่น ปรับปรุงและสร้างที่จอดรถบริเวณหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร



การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2543
นายสมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ([1]) ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปฯ นายสมัคร สุนทรเวช ได้ยกเลิกการกล่าวโจมตีฝ่ายที่ต่อต้านนายทักษิณ และสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ก็ได้ปิดตัวไป ซึ่งก่อนหน้านั้น นายสมัครได้จัดรายการร่วมกับนายด�! �สิต ศิริวรรณ ที่ช่อง 9 เวลา 11.00 เป็นประจำทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งนายสมัครได้กล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่าย เนื่องจาก พล.อ.เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย ทำให้นายสมัครต้องยุติรายการทางช่อง 9 ไป



ประวัติ

ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
ประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการศึกษา

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
BRYANMT & STRATION INSTITUTE ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

ศึกษาเพิ่มเติม

ประกาศนียบัตร A.C.C. (โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์)
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Dip. in Accounting and Business Administration
สมัคร
ประกาศนียบัตรและปริญญาบัตร
ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินของภรรยามั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัคร สุนทรเวชจึงมิได้ทำงานกับหน่วยงานใด โดยได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา



สถานภาพสมรส

พ.อ. (พิเศษ) แพทย์หญิงมยุรี (สุนทรเวช) พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ
นางเยาวมาลย์ (สุนทรเวช) ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
พล.อ.อ. สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรม)
นายสมัคร สุนทรเวช
นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง

พี่น้องร่วมบิดา – มารดา

พ.ศ. 2511 - 2519 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ. 2514 สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2516 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
พ.ศ. 2516 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2526, พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2543 - 2547 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง

พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 ประถมภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ประถมดิเรกคุณาภรณ์

วันพุธที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2550

วันเสาร์

นักอาหรับคดี (arabist) คือบุคคลที่อาจไม่ได้เกิด หรือเติบโตในประเทศอาหรับ แต่ศึกษาภาษาและวรรณกรรมอาหรับจนเชี่ยวชาญ อีกทั้งยังเข้าใจในขนบธรรมเนียมประเพณีอาหรับอย่างลึกซึ้ง จนสามารถแปลหนังสือวรรณกรรมอาหรับได้ เช่นอัลกุรอาน และบทกวี บางคนเขียนพจนานุกรมอาหรับแปลเป็นภาษาของตน
นักอาหรับคดีทุกคนเป็นนักบูรพคดี แต่ไม่ใช่ว่านักบูรพคดีทุกคนเป็นนักอาหรับคดี ผู้ที่เรียนรู้ภาษาอาหรับในระดับสูงยังเรียกว่านักอาหรับคดีไม่ได้ หากยังไม่ได้มีงานเขียนหรืองานแปล
นักอาหรับคดีที่มีชื่อเสียงในอดีตได้แก่ Richard Francis Burton และ Hans Wehr