วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550



นายสมัคร สุนทรเวช นักการเมืองและนักพูดที่มีชื่อเสียง เกิดเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ที่กรุงเทพมหานคร บ้านหน้าวังบางขุนพรหม ถนนสามเสน บิดาคือ เสวกเอกพระยาบำรุงราชบริพาร (เสมียน สุนทรเวช) มารดาคือ คุณหญิง บำรุงราชบริพาร (อำพัน -สกุลเดิม จิตรกร) เป็นหลานลุงของ มหาเสวกตรี พระยาแพทย์พงศาวิสุทธาธิบดี (สุ่น สุนทรเวช) นายแพทย์ประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระมงก! ุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นหลานตาของมหาเสวกตรี พระยาอนุศาสน์จิตรกร (จันทร์ จิตรกร) จิตรกรประจำสำนัก
หลังจบนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ เส้นทางการทำงานของสมัครเริ่มจากการเป็นสื่อสายการเมือง โดยเขียนบทความและความคิดเห็นทางการบ้านการเมืองแบบไม่ประจำในหนังสือพิมพ์สยามรัฐ, สยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ และชาวกรุง ตั้งแต่ พ.ศ. 2500 และเขียนไปถึง พ.ศ. 2516
สมัคร ข้ามจากการเป็นสื่ออย่างเดียวมาเริ่มต้นชีวิตทางการเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ตั้งแต่ปี 2511 ลงสมัครในระดับต่างๆ ไล่ขึ้นมาจากท้องถิ่น จนมีบทบาทโดดเด่นในช่วงปี 2519 จัดรายการทางสถานีวิทยุยานเกราะ คัดค้านโจมตีบทบาทของขบวนการนักศึกษาในสมัยนั้น ปลุกระดมมวลชนให้เกลียดชังขบวนการนักศึกษาจนเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519
และเมื่อสิ้นสุดเหตุการณ์ เขาได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่ออายุได้เพียง 41 ปี ควบคู่กับการแยกออกมาก่อตั้งพรรคประชากรไทย มีฐานคะแนนเสียงหลักใน กทม. บางเขตที่มีหน่วยทหารอยู่หนาแน่น
ความคิดและบทบาทของเขามักจะสร้างกระแสมวลชนทั้งหนุนและค้านวิจารณ์ได้กว้างขวางร้อนแรง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 6 ตุลา , พฤษภาทมิฬ 35, ไอเดียหนุนกระทงโฟม, ไล่มาจนถึงการกล่าวโจมตีประธานองคมนตรี พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ทางทีวีเมื่อต้นปี 2549
แต่แฟนประจำไม่น้อยก็ชื่นชอบลีลาการหาเสียงที่ระดมอัดตัวเลขข้อมูลบรรยายโครงการก่อสร้างต่างๆ จนเห็นภาพสวยงาม สำนวนที่สนุกสนานดุเดือดไม่เคยน่าเบื่อ และลีลาการทำอาหาร "ชิมไปบ่นไป" กับความรักแมวที่มั่นคงตลอด




สารบัญ
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นสมาชิกวุฒิสภา ปี พ.ศ. 2549 ด้วยคะแนนเสียงเป็นอันดับสองของประเทศ (ร.ต.อ.นิติภูมิ นวรัตน์ ได้คะแนนเสียงอันดับที่ 1 แต่ ร.ต.อ.นิติภูมิยังไม่ได้การรับรองจาก คณะกรรมการการเลือกตั้ง เนื่องจากมีผู้ร้องเรียนเรื่องการใช้วิธีหาเสียงบนเวทีปราศัยของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย) แต่ภายหลังการเลือกตั้งได้ถูกยกเลิกไป



การเลือกตั้งวุฒิสภา 2549
นายสมัคร สุนทรเวช ได้รับเลือกเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2543 ด้วยคะแนนเสียงเป็นอันดับหนึ่ง 1,016,096 คะแนน ซึ่งเป็นคะแนนเสียงมากที่สุดนับตั้งแต่มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (นางสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ไดัรับคะแนนเสียงเป็นอันดับสอง 521,184 คะแนน) นายสมัคร สุนทรเวช ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543-2547 นับเป็นผู้ว่าราชการก�! ��ุงเทพมหานคร คนที่ 13 และเป็นผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คนที่ 5 ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในระหว่างดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร นายสมัคร สุนทรเวช มีผลงานมากมาย เช่น ปรับปรุงและสร้างที่จอดรถบริเวณหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร



การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร 2543
นายสมัคร ร่วมจัดรายการ สนทนาปัญหาบ้านเมือง ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ([1]) ซึ่งถูกโจมตีโดยฝ่ายตรงข้ามว่าเป็นสื่อที่เข้าข้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตรและหลังจากที่มีการปฏิวัติโดยคณะปฏิรูปฯ นายสมัคร สุนทรเวช ได้ยกเลิกการกล่าวโจมตีฝ่ายที่ต่อต้านนายทักษิณ และสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม MV1 ก็ได้ปิดตัวไป ซึ่งก่อนหน้านั้น นายสมัครได้จัดรายการร่วมกับนายด�! �สิต ศิริวรรณ ที่ช่อง 9 เวลา 11.00 เป็นประจำทุกวันจันทร์ - ศุกร์ ระยะเวลา 30 นาที ซึ่งนายสมัครได้กล่าวว่า พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ จนก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และไม่พอใจของหลายฝ่าย เนื่องจาก พล.อ.เปรม เป็นที่เคารพของหลายฝ่าย ทำให้นายสมัครต้องยุติรายการทางช่อง 9 ไป



ประวัติ

ก่อนประถม โรงเรียนสตรีบางขุนพรหม
ประถม โรงเรียนเทเวศน์ศึกษา
มัธยม โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
อาชีวะ โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์
อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประวัติการศึกษา

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
BRYANMT & STRATION INSTITUTE ชิคาโก สหรัฐอเมริกา

ศึกษาเพิ่มเติม

ประกาศนียบัตร A.C.C. (โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์)
นิติศาสตร์บัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศนียบัตรวิชามัคคุเทศก์ (คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
Dip. in Accounting and Business Administration
สมัคร
ประกาศนียบัตรและปริญญาบัตร
ภรรยาทำงานอยู่กับบริษัทเอกชนมาตั้งแต่ พ.ศ. 2505 สถานะการเงินของภรรยามั่นคงพอที่จะดูแลครอบครัวได้ นายสมัคร สุนทรเวชจึงมิได้ทำงานกับหน่วยงานใด โดยได้ทำงานด้านการเมืองเพียงอย่างเดียวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 เป็นต้นมา



สถานภาพสมรส

พ.อ. (พิเศษ) แพทย์หญิงมยุรี (สุนทรเวช) พลางกูร - อดีตรองผู้อำนวยการ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าฯ
นางเยาวมาลย์ (สุนทรเวช) ราชวังเมือง - ประกอบธุรกิจส่วนตัว
พล.อ.อ. สมมต สุนทรเวช - อดีตที่ปรึกษา ทอ. (ถึงแก่กรรม)
นายสมัคร สุนทรเวช
นายมโนมัย สุนทรเวช - พนักงานรัฐวิสาหกิจ
นายสุมิตร สุนทรเวช - นักการเมือง

พี่น้องร่วมบิดา – มารดา

พ.ศ. 2511 - 2519 สมาชิกพรรคประชาธิปัตย์
พ.ศ. 2514 สมาชิกสภาเทศบาลนครกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2516 สมาชิกสมัชชาแห่งชาติ
พ.ศ. 2516 สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
พ.ศ. 2518, พ.ศ. 2519, พ.ศ. 2522, พ.ศ. 2526, พ.ศ. 2529, พ.ศ. 2531, พ.ศ. 2535, พ.ศ. 2538 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร
พ.ศ. 2543 - 2547 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง

พ.ศ. 2517 ตริตาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2518 ตริตาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2519 ทวิติยาภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2520 รัตนาภรณ์ (ชั้นที่ ๒ )
พ.ศ. 2522 ประถมภรณ์มงกุฏไทย
พ.ศ. 2524 ประถมภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2526 มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
พ.ศ. 2527 ทุติยจุลจอมเกล้า
พ.ศ. 2527 มหาวชิรมงกุฏ
พ.ศ. 2539 ประถมดิเรกคุณาภรณ์

ไม่มีความคิดเห็น: